dhammapada reflections (transl) - thai


พระธรรมบท ที่ใช้ในการตีพิมพ์ ภาพสะท้อนธรรมบท รายปักษ์ นี้คัดลอกมาจาก
“พระธรรมบทเพื่อการพิจารณาไตร่ตรอง” (พิมพ์ครั้งที่ 2) สำนักพิมพ์อรุณา (2549) สำหรับการตีความพระธรรมบทตามตัวอักษรเพิ่มเติม โปรดดูการแปลอื่นๆ


วันอังคารที่ 1 สิงหาคม 2566

อดีต, ปัจจุบัน และ อนาคต

ปล่อยวางอดีต
ปล่อยวางอนาคต
ปล่อยวางปัจจุบัน
ด้วยหัวใจที่เป็นอิสระ
ข้ามผ่านไปยังฝั่งนั้น
ซึ่งอยู่เหนือความทุกข์

ธรรมบท ข้อที่ 348

เราทุกคนอาจจะเคยได้ยิน คำสอนที่กล่าวว่า “ปล่อยวางอดีต และ ปล่อยวางอนาคต” แต่ในที่นี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแนะนำให้เราปล่อยวางปัจจุบันด้วย แล้วเราจะทำตามคำสอนของพระองค์ได้อย่างไร? เราสามารถเริ่มต้นด้วยการให้เราหันมาตั้งใจพิจารณา ร่างกายของเราโดยให้รู้สึกถึงความสมดุลย์และให้รู้สึกเบาสบายเสียก่อน เพราะร่างกายของเรานั้น จะสามารถเป็นตัวชี้บ่ง ได้อย่างดี ว่าเรานั้นกำลังหลงอยู่ในนิสัยของความเคยชินในการเกาะติดยึดมั่นหรือไม่บ่อยครั้งที่เราเกิดความรู้สึกกลัวความสูญเสียโดยที่เราไม่รู้ตัว เราต่อต้านความกลัวนั้น ซึ่งทำให้จิตเราต้องหันไปหาที่ยึดเกาะ กระบวนการที่เกิดขึ้นโดยขาดสตินี้ก่อให้เกิดความเครียดแล้วไม่ช้านานเราเองก็หลง และไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าเรากำลังทำสิ่งนี้อยู่เป็นประจำ การหายใจเข้าลึกๆ ยาวๆ อย่างช้าๆ สามารถช่วยได้ แล้วหายใจออก ให้ยาวขึ้น และช้าลงปล่อยใหล่ของเราที่เกร็งอยู่ ค่อยๆผ่อนคลาย และจำไว้ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้เราปล่อยวางในปัจจุบันขณะ


วันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม 2566

พิจารณาความตาย

เมื่อคุณกำลังใกล้ตาย จงพิจารณาให้แจ้งว่า ในบรรดาสิ่งทั้งหลายที่เป็นที่รักและพอใจที่คุณกำลังยึดติดอยู่นั้น ไม่มีสิ่งใด ที่จะปกป้องคุณให้พ้นจากความตายได้ จึงควรเร่งรีบถากถางเส้นทางเดินเพื่อไปถึงการหลุดพ้น โดยความสำรวมอันประกอบไปด้วยปัญญาและความพากเพียรอย่างตั้งมั่นไม่หวั่นไหว

ธรรมบท ข้อที่ 288- 289

สำหรับผู้ที่ฝากตัวฝากใจไว้ กับการค้นหาความสุขในหนทางที่ยังมีการยึดติดผูกพันอยู่ ก็ยังต้องรู้สึกหวาดกลัวและหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญกับคำว่า”ความตาย”อยู่เสมอ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงแนะนำให้เราหมั่นตรึกตรอง ระลึกถึงว่า ความตายของเรานั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และให้หันหน้ามามุ่งเน้นถึงสิ่งที่กำจัดความหวาดกลัวและความสิ้นหวัง เราทุกคนล้วนมีหน่วยพลังงานที่จำกัดเฉพาะตน ดังนั้น เราควรที่จะใช้พลังงานนั้นเพื่ออะไร? เราสามารถลงทุนใช้พลังงานนั้นไปเพื่อตอบสนองต่อตัณหา ความปรารถนาในความสุขชั่วคราว หรือเราสามารถที่จะใช้ในการฝึกฝนปฏิบัติให้เกิดปัญญา ให้มีความเข้าใจมีความอบอุ่นใจ ตลอดไปจนถึงมีเมตตากรุณาต่อตนเองและผู้อื่น


วันพุธที่ 5 เมษายน 2566

การชี้ขาดตัดสินความ

การตัดสินใจความ ตามอำเภอใจ โดยพลการ โดยขาดหลักฐานข้อมูลนั้น ถือว่าไม่ยุติธรรม การพิจารณาประเมินข้อโต้แย้งว่า การเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยนั้น ผู้มีปัญญาเป็นผู้ตัดสินความ

ธรรมบท ข้อที่ 256

เมื่อเราต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลง ความไม่แน่นอน โดยไม่ทันได้ตั้งตัว โดยสัญชาตญาณ เราจะถูกดึงดูด ถูกโน้มน้าวให้หันไปคว้า ไปยึด ในสิ่งที่เราหวังว่าจะทำให้เรารู้สึกมั่นคงอีกครั้ง การที่เราต้องการความมั่นคงในชีวิตนั้นเป็นธรรมดาที่เราเข้าใจได้ อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง ชีวิตของเราโดยส่วนใหญ่นั้น เราต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงสอน ทรงแนะนำให้เราเรียนรู้ที่จะปล่อยวาง จากความยึดมั่น ความเข้าใจดังกล่าวนั้น หากเราต้องเผชิญกับการตัดสินใจที่ยากลำบาก การฝึกฝนปฏิบัติธรรมที่เราศึกษาสั่งสม มานั้น จะเป็นตัวกระตุ้นเตือน ให้เราอดทน พินิจพิจารณา วิเคราะห์ ด้วยปัญญาอย่างชาญฉลาด โดยรับฟังในทุกด้านของข้อโต้แย้ง และไม่หลงเชื่อหลงยึดติดอยู่กับข้อสันนิษฐาน ด้วยทักษะ ความชำนาญความละเอียดในชั่งใจ การวิเคราะห์ด้วยความอดกลั้น ซึ่งตรงข้ามกันกับ ความสะเพร่า ประมาท ไม่ใส่ใจพิจารณา ตัดสินอย่างเลินเล่อ ไม่ระมัดระวัง


วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม 2566

สูตรสมดุลเพื่อชีวิต

การละเว้น จากการทำสิ่งไม่ถูกต้อง หรือการไม่ทำบาปทั้งปวง กระทำในสิ่งที่ดีงามหรือการยังกุศลให้ถึงพร้อม การชำระจิตของตนให้บริสึทธิ์ผ่องใส นี้เป็นคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

ธรรมบท ข้อที่ 183

ถึงแม้ว่าธรรมบทข้อนี้อาจจะฟังดูเรียบง่าย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถือได้ว่าเป็นสูตรนำ ในการใช้ชีวิตของเราตลอดทั้งชีวิต ในบรรทัดแรกท่านกล่าวถึง ความเคยชินกับการใช้ชีวิตด้วยความประมาท อุปนิสัยที่สะเพร่า ไม่ระมัดระวัง เฉกเช่นการทำอาหารในครัวที่ไม่สะอาดไม่ถูกสุขลักษณะ อาจทำให้เกิดท้องเสียเจ็บป่วยขึ้นมาได้ ฉันใด การฝึกฝน,ความพากเพียรในการปฏิบัติธรรม โดยปราศจากทักษะในการประมาณ หรือขาดความพอดี นั้นเป็นอันตรายได้ บรรทัดที่สองนั้นท่านชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการ สะสมเสียงบุญ หรือสร้างคลังเก็บความดีงาม เราคงไม่สามารถ ตั้งเป้าหมายในการปีนยอดเขาเวเวอเรสต์ โดยปราศจากการเตรียมอุปกรณ์การปีนเขาและเสบียงอาหารที่เหมาะสม ฉันใด ในทำนองเดียวกัน มันก็ไม่สมเหตุสมผลเลย ที่เราจะตั้งเป้าหมายให้พ้นทุกข์, หลุดพ้น หรือ เป็นอิสระจากความทุกข์ โดยไม่มีการสะสมเสบียงบุญ ไม่เตรียมพร้อมสร้างสมความดีงาม การฝึกฝนปฏิบัติ ซึ่งเมื่อถึงเวลาเราจะได้สามารถดึงพลังบุญที่เราสะสมไว้เมื่อเราต้องการ สองบรรทัดแรกที่กล่าวมานั้น เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อการลงมือปฏิบัติงานที่จะอธิบายในบรรทัดที่สาม คือการชำระจิตของตนให้ผ่องใสบริสุทธิ์ ซึ่งต้องอาศัยการลงมือปฏิบัติที่จริงจังตั้งใจ ด้วยความพากเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด ประหนึ่งว่าต้องผ่านความร้อนสูง แรงกดดันอย่างมหาศาล และความอดทนอย่างมาก ในบรรทัดที่สี่นี้กล่าวว่า ทั้งหมดนี้ คือคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566

ภาวะความเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงของจิตใจในการเปิดรับสิ่งใหม่

เหมือนช้อนที่ไม่สามารถรับรู้รสชาติน้ำแกงได้ฉันใด เปรียบได้คือเหล่าคนโง่ที่ไม่สามารถเห็นความจริงหรือเข้าถึงหลักธรรมได้ แม้ว่า ตลอดชีวิตของพวกเขาจะมีชีวิตอยู่กับผู้รู้ ผู้ฉลาด ฉันนั้น

ธรรมบท ข้อที่ 64

การเรียนรู้ที่ จะอยู่รอดในภาวะความเสี่ยง, ความอ่อนไหว, ความไม่มั่น คงของจิตใจ ในการเปิดใจรับต่อวิถีใหม่ของการฝึกฝนปฏิบัติธรรมเพื่อให้เกิด ปัญญาญาณของตนเองนั้นมีความสําคัญยิ่งนัก ในสมัยที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองยังทรงพระชนม์อยู่ มีเหล่าพระสงฆ์, ฤาษี,นักพรต,นักปฏิบัติ ที่ฝึกฝนปฏิบัติตน อยู่ในช่วงเวลาเดียวกับ พระองค์ นักปฏิบัติเหล่านั้นผู้ไม่รู้ และไม่สามารถที่จะจำแนกได้อย่างถี่ถ้วน ว่าอะไรคือของแท้ อะไรคือของปลอม หรือสิ่งใดคือความจริงสิ่งใดคือ ความเท็จ พระพุทธเจ้าทรงเปรียบนักปฏิบัติเหล่านั้นว่าคือ คนหลง คนโง่ การเชื่อเพียงแค่คำสอนของผู้อื่นที่เราได้ยินได้ฟังมานั้น ไม่เพียงพอ การฝึกฝนปฏิบัติตามคำสอนที่เราได้อ่านมาซ้ำแล้วซ้ำเล่านั้น ก็ไม่เพียงพอ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารถนาให้เราเข้าใจ หยั่งรู้ เกิดปัญญาญาณได้ด้วยตนเอง นั่นหมายถึงว่า ท่านทรงสอนให้ปล่อยวาง ความยึดมั่นที่ผิดๆที่เรายึดติดอยู่กับความคิดหาสาเหตุ ที่ทำให้เกิดทุกข์และเกิดความรู้สึกอ่อนแอไม่มั่นคง แต่ทรงปรารถนาให้เราเข้าไปรู้สึก, พิจารณาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความทุกข์ของชีวิต, ทรงปรารถนาให้อยู่กับปัจจุบันขณะ ที่นี่ เดี๋ยวนี้ ณ ลมหายใจนี้ ในทุกส่วนของทั้งร่างกายและจิตใจ และไม่หลุดหลงไปวนเวียนอยู่เฉพาะแค่ในความคิดนั้นนั่นเอง การฝึกพิจารณาเนื่องๆ เช่นนี้เป็นหนทางที่ดีที่เราจะมีโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ในการปฏิบัติตน
เพื่อให้เกิด ปัญญาญาณที่แท้จริง


วันศุกร์ที่ 6 มกราคม 2566

การจัดลำดับความสำคัญหรือการย้อนกลับมามองดูตัวเอง

ผู้ที่ย้อนกลับมามองดูตนเองว่าดำรงตนอยู่ในความถูกต้องเหมาะสม ก่อนที่เราจะไปแนะนำสั่งสอนผู้อื่น คือผู้มีปัญญา

ธรรมบท ข้อที่ 158

การที่เราต้องอยู่กับตัวเอง 24 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์ แน่นอนว่าเราย่อมรู้จักตัวเองดีกว่าที่รู้จักผู้อื่น
อย่างไรก็ตาม การยอมรับข้อผิดพลาด การมองเห็นข้อเสีย,ข้อบกพร่อง และข้อจำกัดของตัวเราเองนั้น ก็อาจทำไม่ได้โดยง่าย
การรับรู้ในระดับผิวเผินที่สุด คือการมองเห็นข้อเสียของผู้อื่นโดยทันใดนั้น ไม่ใช่นอกจากแค่จะทำได้ง่าย แต่ยังสามารถทำให้เรารู้สึกยิ่งใหญ่พองโต

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสอนว่า ผู้มีปัญญาย่อมการเห็นถึงความสำคัญในการสำรวจตนเองและจัดลำดับความสำคัญ ความถูกต้องเหมาะสมของตนเอง ก่อนที่จะสอนผู้อื่น และชี้แนะถูกผิด

และหากเรามองลึกลงไปถึงการระลึกตื่นรู้ เราอาจจะค้นพบได้ว่า เราจะรู้สึกดีที่เรามีความซื่อสัตย์ในการยอมรับข้อเสียและข้อจำกัดของตัวเอง


วันพฤหัสบดีที่ 08 ธันวาคม 2565

ความรู้ตัวที่สักแต่ว่ารู้ และไม่มีตัวตน 

ตั้งแต่สมัยโบราณกาลก็เป็นเช่นนี้ คนที่พูดมากก็ถูกติเตียน
เฉกเช่นเดียวกับคนที่พูดน้อย และแม้ผู้ที่ไม่พูดเลย ทุกคนในโลกนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์

ธรรมบท ข้อ 227

การถูกตำหนิ วิจารณ์อาจทำให้เราเกิดการเสียความรู้สึก ที่เราต้องเจอว่าตัวเองกำลังผิดพลาด ซึ่งทำให้เราเกิดการเจ็บใจและเสียความรู้สึก
เนื่องจากมันไม่มีทางเลยที่จะผ่านการดำเนินชีวิตนี้ได้ โดยไม่ถูกตำหนิ และประสบกับความรู้สึกว่าตัวเองมีโทษ มีผิดพลาด แน่นอนว่าเราต้องฝึกหาวิธีที่จะรับมือกับการเสียความรู้สึก การเจ็บใจนั้น โดยไม่ทำให้มันกลายเป็นทุกข์

คำว่าเสียความรู้สึก หรืออีกนัยหนึ่งก็หมายความว่าความเจ็บปวด ซึ่งสิ่งมีชีวิตทั้งปวงล้วนต่างต้องประสบนั้น พระพุทธเจ้าเองก็ทรงต้องประสบกับความเจ็บปวดเช่นเดียวกัน หากแต่มันไม่ทำให้พระองค์ทรงเป็นทุกข์
แม้แต่การที่พระองค์ต้องทนกับพระภิกษุที่ชอบก่อปัญหาต่างๆ อีกทั้งทรงต้องรับความไม่สะดวกสบาย กับความป่วยไข้ที่มาเยือนในวัยชรา สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ต่างก็มิได้ทำให้พระองค์ เกิดผลกระทบต่อความรู้แจ้งและความพึงพอใจภายในใจของพระองค์

นับตั้งแต่เมื่อพระองค์ทรงบรรลุธรรม จิตใจของพระพุทธองค์ทรงพ้นจากการที่ต้องแสวงหาที่พึง ที่ยังอาศัยความยึดมั่นถือมั่น ในร่างกายและจิตใจ
เราเองก็เช่นกันหากเราปรารถนา ที่จะเลิกการให้ความเจ็บปวดตามปกติของชีวิตแปรเป็นความทุกข์ในใจ
เราจำเป็นที่จะต้องฝึก ทำตามพระพุทธองค์ ดังนั้น เราต้องหยุดหา ส่วนที่เราสำคัญตัวสำคัญตนโดยการยึดมั่นถือมั่นอยู่ตลอด
และหันมาตระหนักว่า ที่พึ่งอันเกษมที่แท้จริงนั้น จะหาเจอได้เฉพาะในความรู้ตัวที่ไม่มีอัตตาตัวตน